Loading
|
Session files and videos from the conference program are now starting to be made available online. For presentations currently online please see the following pages:
Keynotes
Presentations
Academic Track
Tutorials
Workshops
Lightening Talks
Posters
Birds of a feather
Spatial Ignite
If you notice your presentation files are missing please don't hesitate to It may be an oversight or we may need you to send us your material again.
FOSS4G 2009 – เป็นอะไรที่มากกว่า การประชุมวิชาการนานาชาติ ภูมิสารสนเทศเปิดรหัส
การประชุมวิชาการ ซอฟต์แวร์เสรีและรหัสเปิดสำหรับภูมิสารสนเทศ (FOSS4G) จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 ถึง 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 นี้ ณ กรุงซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
การเติบโตที่เริ่มจากประชุมระดับภูมิภาคของชุมชนรหัสเปิด ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การประชุมวิชาการ FOSS4G ได้กลายเป็นแหล่งชุมนุมของผู้เชี่ยวชาญภูมิสารสนเทศนานาชาติ เพื่อพบปะแสดงความคิดเห็นและสร้างโอกาสใหม่ๆ เนื้อหาเปิดกว้างตั้งแต่การบูรณาระบบซอฟต์แวร์รหัสเปิดกับระบบเฉพาะใดๆ ครอบคลุมไปจนถึงการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานปริภูมิและการประยุกต์ใช้มาตรฐานด้านภูมิสารสนทเทศ การประชุมจะอำนวยโอกาสในการต่อเชื่อเช้าสู่องค์ความรู้และประสพการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาลในวงการนักพัฒนาซอฟต์แวร์รหัสเปิด ผู้ให้การสนับสนุน และนักวิชาชีพภูมิสารสนเทศในทุกๆแง่มุม
ไฮไลท์ในงาน FOSS4G 2009
เทศกาล การแข่งขันประกวดการบูรณาการการประยุกต์ด้านภูมิอากาศ “ปลั๊กเฟสต์ Plugfest ” (CCIP) : FOSS4G จะเปิดตัวการแข่งขันประกวดการบูรณาการการประยุกต์ด้านภูมิอากาศ “ปลั๊กเฟสต์” จะเป็นการสาธิตการปฏิสัมพันธ์ของระบบที่เป็นมาตรฐาน ที่รองรับทั้งระบบภูมิสารสนเทศรหัสเปิดและระบบภูมิสารสนเทศที่เป็นเจ้าของเอง ระบบอาจประกอบด้วยแม่ข่ายหนึ่งระบบและอาจมีเวอร์ช่วลแมชีนหลายระบบซ้อนอยู่ก็ได้ แต่ละระบบได้รับการติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ภูมิสารสนเทศที่ให้มีเวปเซอร์วิสที่เป็นมาตรฐาน ทุกๆเวปเซอร์วิสจะสาธิตข้อมูลร่วมกัน และจะเข้าถึงได้โดยลูกข่ายภูมิสารสนเทศต่างๆ ที่ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย http://external.opengis.org/twiki_public/bin/view/ClimateChallenge2009/WebHome
ผู้นำเสนอผลงานควรที่จะ (แต่ไม่บังคับ) ใช้ประโยชน์จาก เหตุการณ์จำลอง และจากเหตุการณ์จริงซึ่งหาได้จาก การแข่งขันประกวดการบูรณาการการประยุกต์ด้านภูมิอากาศ (CCIP) ซึ่งในการนี้ความต้องการในการเข้าถึงข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตค่อนข้างสูง และออสเตรเลียเป็นที่รู้จักกันว่าการติดต่อสู่โลกภายนอกค่อนข้างช้า
FOSS4G ไลฟ์ดีวีดี : ไลฟ์ดีวีดี ที่พัฒนาบนพื้นฐานระบบปฏิบัติการ Xubuntu รวมทั้งซอฟต์แวร์รหัสเปิดสำหรับภูมิสารสนเทศ จะแจกให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันทุกท่าน ผู้ใช้สามารถบูทได้จากไลฟ์ดีวีดีบนคอมพิวเตอร์ของท่านโดยตรงและสามารถลองใช้ซอฟต์แวร์ด้วยต้องติดตั้งหรือจะมีผลใดๆต่อระบบปฏิบัติการที่มีอยู่แล้ว http://wiki.osgeo.org/wiki/Live_GIS_Disc
Installfest: เทศกาล“Installfest” จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมทุกท่านได้พบกันและติดตั้งซอฟแวร์ฟอส (FOSS) อย่างหลากหลายบนแลฟท็อปของท่าน EEE PC หรือแม้กระทั่งบนระบบปฏิบัติการอื่นๆที่ท่านอยากจะนำมร่วมด้วย สมาชิกของชุมชันนี้จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันและช่วยกันดูแลซอฟตแวร์ เทศกาลInstallfestนี้จะมีขึ้นในวันแรกหลังจาก ช่วงการประชุมเชิงปฏิบัติการ
Workshops and Tutorials: การประชุมเชิงปฏิบัติการและการเรียนแบบแนะนำ (Workshop and Tutorials) : การประชุมเชิงปฏิบัติการและการเรียนแบบแนะนำจะมีการให้ผู้นำเสนอนำผู้เข้าร่วมประชุมตั้งแต่ การประยุกต์ การบูรณาการโซลูชั่น หรือหัวข้อเรื่องอื่นๆ ในบรรยากาศที่โต้ตอบปฏิสัมพันธ์กัน การประชุมเชิงปฏิบัติการ (3 ชั่วโมง) จะจัดขึ้นในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในวันแรก การเรียนแบบแนะนำ (90 นาที) จะจัดขึ้นในห้องบรรยายทั่วไป การประชุมจะดำเนินการขนานไปกับช่วงการนำเสนอระหว่างวันที่สามและวันที่สี่
Presentations: การนำเสนอ : สาระของการประชุมในครั้งนี้ก็คือการนำเสนอนั่นเอง การดึงดูดผู้คนจำนวนมากในวงการจากท้องถิ่น ภูมิภาค และผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ จะพูดคุยสนทนาถึงเรื่องที่ร่วมสมัย หัวข้อที่ร้อนแรงในวงการในปัจจุบัน
Demos: โรงละครสาธิต : ระหว่างอาหารกลางและช่วงพักดื่มกาแฟจะมีการแสดงซอฟต์แวร์กันสดๆในลักษณะ showcase การแสดงสาธิตนี้ดำเนินการโดยผู้อุปถัมภ์ โครงการซอฟต์แวร์รหัสเปิด และผู้ใช้ในวงการ เพื่อแสดงว่ามีอะไรเป็นไปได้บ้างในเวลาปัจจุบัน
Birds of a Feather: การเกิดของสิ่งใหม่ที่ไม่สิ้นสุด (Birds of a Feature) : จะมีการจัดห้องแบบกึ่งเป็นทางการเพื่อการประชุมของกลุ่มนักคิด ผู้ริเริ่มที่โดดเด่นบางท่านได้เริ่มต้นก่อนช่วง “FOSS4G Birds of a Feather”
Code Sprint: ในช่วงสุดสัปดาห์หลัก FOSS4G จะช่วงเป็นเวลาสำหรับแฮคเกอร์ที่เราขอเรียกว่า “Code Sprint” แฮคเกอร์จะถูกกักขังไว้รวมกันแต่จะมีเครือข่าย พิชซ่า และโค๊กจำนวนมาก (จริงๆแล้ว เราอาจจะจัดในรูปแบบอื่นๆก็ได้ แต่ว่าเราไม่อยากจะทำทำลายภาพพจน์ของแฮคเกอร์ผู้ลุ่มหลงเหล่านี้ )
ช่วงเวลาสำคัญที่กำลังมาถึง
- 1 มิถุนายน 2551 สิ้นสุดการส่งบทคัดย่อ
- 13 กรกฏาคม 2551 การตอบรับผู้นำเสนอให้นำเสนอผลงานได้
- 31 กรกฏาคม 2551 วันสิ้นสุดการลงทะเบียนล่วงหน้าสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม และผู้เขียนบทความ
- 14 กันยายน 2551 โปรแกรมการประชุมสมบูรณ์ ติดตามได้ใน Wiki
- 20 ตุลาคม 2551 การประชุมเชิงปฏิบัติการ (FOSS4G Workshop)
- 21-23 ตุลาคม 2551 การนำเสนอและการเรียนแบบแนะนำ (FOSS4G Presentations and Tutorials)
- 24-25 ตุลาคม 2551 โค๊ดสปรินท์ (FOSS4G Code Sprint)